ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากสติปัญญาของคนและอยู่คู่สังคมตลอดมา ความรุ่งเรืองด้านศิลปะและวัฒนธรรมต้องอาศัยการสั่งสมต่อเนื่องยาวนาน ก่อสานให้เห็นทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมสิ่งรูปธรรมเห็นได้ง่าย เช่นอาคารบ้านเรือนและสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือด้านจิตใจได้แก่ ระบบความรู้ความคิด ความเชื่อ ซึ่งทั้งศิลปะและความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ  คนกับคนและกับสังคมยึดโยงกันเป็นโครงสร้างของสังคม เป็นปัจจัยให้เกิดการดำรงอยู่และมีความเป็นอัตลักษณ์ เหตุนี้จึงมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรม คือ ลมหายใจของสังคม คือปราการความมั่นคงของชาติ และการรักษาวัฒนธรรมคือการรักษาชาติ

การจัดทำหลักสูตรด้านศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ จึงเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด สามารถเลือกตามความถนัดและความสนใจของเรียน เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่กระบวนการในการเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน รวมถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคดิจิทัล

“มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรม ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน โดยถือเป็นมรดกที่ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นสิ่งสำคัญที่ชุมชนและ กลุ่มชนสร้างและพัฒนาขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์ของตน ซึ่งสามารถทำให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและสำนึกหวงแหนในคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน กลุ่มชน หรือปัจเจกบุคคลต่อการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่มีนั้น

ศิลปะการแสดง  (Performing Arts) เป็นสาขาหนึ่งใน ๗ ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หมายถึง การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก และเรื่องราวต่างๆ โดยมีผู้แสดงเป็นสื่อ ผ่านทางเสียง ได้แก่ การขับร้อง หรือการเล่นดนตรี และทางร่างกาย เช่น การร่ายรำ การเชิด การเต้น การแสดงท่าทาง ฯลฯ  ศิลปะการแสดงของภาคใต้ที่นิยมและมีชื่อเสียงที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของภาคใต้ที่สำคัญ ได้แก่ โนรา  เป็นศิลปะการแสดงที่สะท้อนเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของท้องถิ่นภาคใต้ได้อย่างดี

การแสดงโนรา เป็นศิลปะการแสดงการร่ายรำที่มีชีวิตงดงาม ขับร้องโดยใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ พร้อมกับดนตรีประกอบจังหวะที่เร้าใจ และเครื่องแต่งกายที่วิจิตรประณีต มีรากสืบทอดมาจากความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนในภาคใต้ ซึ่งผู้สืบเชื้อสายโนราจะรวมตัวกันเพื่อบวงสรวง เซ่นไหว้ครูหมอโนราหรือบรรพบุรุษ และเพื่อขจัดปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย พิธีกรรมโนรานั้นเป็นการเชื่อมต่อชุมชนกับบรรพบุรุษ และสืบทอดโนรารุ่นใหม่รวมถึงรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับบุคคลและชุมชนและช่วยอำนวยอวยพรให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธี และในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้เสนอโนรา ภายใต้ชื่อ Nora Dance Drama in Southern Thailand ขึ้นบัญชีเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโก

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์วางแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับงานด้านเผยแพร่องค์ความรู้โนราเพื่อรองรับการเสนอโนราขึ้นบัญชีเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ภายใต้กลยุทธ์หลัก (Key strategies) ที่มุ่งเน้นให้เยาวชนเกิดความตระหนักรู้ (Raising awareness) และการรับรู้ (Perception) ศิลปะการแสดงโนรา ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงสร้างความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และโรงเรียน โดยการสร้างช่องทางการเรียนรู้ศิลปะการแสดงโนราในรูปแบบออนไลน์ อันจะนำไปสู่กระบวนการในการเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน รวมถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคดิจิทัล

มุ่งส่งเสริมให้เยาวชนและคนในสังคม มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะการแสดงโนรา อันจะนำไปสู่การรักษาความเอกลักษณ์ของชาติได้อย่างยั่งยืน

สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกสารมรดกภูมิปัญญาแห่งโลก (General Guidelines to Safeguard Documentary Heritage) ของยูเนสโก (UNESCO) โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับโนราในรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ ๒ Raising awareness: สร้างความตระหนักรู้
  • เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่ศิลปะการแสดงโนราที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประจำชาติและประจำถิ่นสืบต่อไป สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ ๓ Preservation: การอนุรักษ์
  • เพื่อยกระดับหลักสูตรการแสดงโนราพื้นฐาน สำหรับเยาวชน (Basic Nora Performing Arts for Youth) ให้เยาวชนสามารถเรียนได้อย่างทั่วถึง ในรูปแบบของการเรียนออนไลน์ สอดคล้องกับ  กลยุทธ์ที่ ๔ Access : การเข้าถึง
  • นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาโรช นาคะวิโรจน์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์
  • นายควน ทวนยก     
  • อาจารย์จิน ฉิมพงศ
  • นางเพ็ญศรี หมื่นพันธ์ชู
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์
  • อาจารย์สุพัฒน์ นาคเสน
  • อาจารย์วิระเดช ทองคำ
  • นายศุภชัย รักสกุล        
  • นางสาวเพ็ญนภา วัยเวก อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์
  • นางสาวปริญญา สีหะรัตน์ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์
  • นางวิลาวัลย์ วิชัยดิษฐ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์
  • นางสาวฐิติมา สีขาว อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์