ที่มาและความสำคัญ

โนรา หรือ มโนราห์ เป็นศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นภาคใต้ของประเทศไทย และได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปะการแสดงที่มีอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นชุมชนท้องถิ่นของภาคใต้   โนรามีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน มีความเจริญรุ่งเรืองและมีการเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ประวัติของโนราจากหลักฐานของคำบอกเล่า ตำนานบทกาศครู มีแหล่งกำเนิดอยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช โนรามีพัฒนาการมาจากศิลปะการแสดงขั้นสูง หรือ นาฏกรรมของราชสำนัก ค่อยผสมผสานกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น จนพัฒนารูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นภาคใต้ และแพร่กระจายออกไปสู่ชุมชนอื่น ๆ รวมทั้งการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน 

วันที่ 15 ธันวาคม 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage: ICS-ICH) ครั้งที่ 16 มีมติให้ขึ้นทะเบียน “โนรา” หรือ “Nora, Dance Drama in Southern Thailand” ในบัญชีรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity – บัญชี RL) ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก โดย “โนรา” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโกลำดับที่สามของไทย

 

ในปีงบประมาณ 2566 ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา วางแผนยกระดับงานด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่องค์ความรู้โนราในระดับนานาชาติ ภายใต้กลยุทธ์หลัก (Key strategies) ที่มุ่งเน้นให้เยาวชนเกิดการรับรู้ (Perception)  ความตระหนักรู้ (Raising awareness) ศิลปะการแสดงโนราส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงสร้างความร่วมมือและเครือข่ายที่เข้มแข็ง โดยการส่งเสริมทักษะการแสดงโนราของเยาวชนเชิงพื้นที่ อันจะนำไปสู่กระบวนการในการเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน รวมถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคดิจิทัล

วัตถุประสงค์

สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกสารมรดกภูมิปัญญาแห่งโลก (General Guidelines to Safeguard Documentary Heritage) ของยูเนสโก (UNESCO) โดยมีรายละเอียดดังนี้
เพื่อส่งเสริมทักษะการแสดงโนราของเยาวชนเชิงพื้นที่ สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ 2
Raising awareness: สร้างความตระหนักรู้
เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่ศิลปะการแสดงโนราในระดับนานาชาติที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประจำชาติและประจำถิ่นสืบต่อไป สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ 3 Preservation: การอนุรักษ์
เพื่อสร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่ให้เยาวชนสามารถรวมกลุ่มเพื่อแสดงโนราผ่านคณะโนราของเครือข่าย สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ 4 Access : การเข้าถึง

กลไกการขับเคลื่อน

ดำเนินการโดยใช้กลไกของการอนุรักษ์ส่งเสริมให้เยาวชนมีทักษะการแสดงโนราโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก (Area Approach) เป็นการใช้กลไกการทำงานที่ขับเคลื่อนงาน ทั้งการพัฒนาแบบรายบุคคล (Individual Approach) การพัฒนาแบบกลุ่ม (Group Approach) และการบริหารจัดการศูนย์ฝึกโนราผ่านกลุ่มเครือข่าย (Commodity Approach) โดยมุ่งหวังให้เกิดผลสำเร็จของงาน มีกระบวนการ ในการบูรณาการที่ชัดเจน และมีการพัฒนากลไกการทำงานส่งเสริมการอนุรักษ์ส่งเสริมให้เยาวชนมีทักษะการแสดงโนราอย่างยั่งยืน

สนับสนุนงบประมาณ

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

ดำเนินงานโดย

ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ที่ปรึกษา

นายโกวิท ผกามาศ
อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธํารงธัญวงศ์
รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์
รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มาริสา ภูมิภาค ณ หนองคาย
รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัฒน์ นาคเสน
วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช

อาจารย์จิณ จิมพงษ์
ศิลปินโนรา

หัวหน้าโครงการ

นางสาวเพ็ญนภา วัยเวก
ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คณะทำงาน

นางวิลาวัณย์ วิชัยดิษฐ
ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นางสาวปริญญา สีหะรัตน์
ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นางสาวฐิติมา สีขาว
ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ติดต่อเรา

ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160

E-MAIL

cultural.wu@gmail.com